รวม 20 ภาพวาดไอเดียของผมในปี 2022

ภาพวาดไอเดียเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ตลอดปี 2022

ภาพถ่ายโดย Victoria Akvarel จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/1650421/

ผมทดลองทำกิจกรรมใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อนในปี 2022 คือ วาดภาพอธิบายไอเดียต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมชื่อ Excalidraw แล้วเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter, Linkedin

นี่คือภาพวาดไอเดียทั้งหมดของผมในปี 2022 โดยเรียงตามลำดับการเผยแพร่

1. ปัจจัยความสำเร็จของวิชา Innovative Thinking

ผมสอนวิชา Gen Ed ของจุฬาฯ ชื่อ Innovative Thinking ครบ 19 ปีในปีนี้

นี่คือ 3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิชา Innovative Thinking สอนได้เกือบ 20 ปีติดต่อกันครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

2. การซื้อหนังสือ

งานมหกรรมหนังสือได้เริ่มแล้ว ซึ่งผมอยากไปมาก เพราะไม่ได้ไปหลายปีแล้ว รวมทั้งอยากไปชมศูนย์ประชุมฯ ที่ปรับปรุงใหม่

แต่ครั้งนี้ ผมตั้งเป้าหมายในการซื้อหนังสือที่ต่างจากเดิมครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

3. One Night Miracle

บางวิชาที่ผมสอน จะมีงานใหญ่ให้นิสิตทำ ซึ่งผมคิดว่า นิสิตจะทยอยทำไปเรื่อย ๆ

แต่ปรากฎว่า สิ่งที่อาจารย์คิดมักไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริง

พอวาดรูปออกมา อ้าว ตอนเรียน ผมก็เป็นแบบรูปข้างล่างเหมือนกัน !

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

4. วิทยากรไม่ใช่วิทยาทาน

ผมกำลังอ่านหนังสือ “แด่คลื่นเล็ก ๆ ในมหาสมุทร” ของคุณธนา เธียรอัจฉริยะ เป็นรอบที่สอง

บทหนึ่งที่ผมโดนใจเป็นพิเศษคือ “วิทยากรไม่ใช่วิทยาทาน” ซึ่งคนเป็นวิทยากร, ครู, อาจารย์, HR ควรอ่านอย่างยิ่ง

จึงขอขยายความบทนี้ว่า เวลาที่วิทยากรเก่งมาก ความสามารถสูง มาบรรยาย 1 ชั่วโมง มีเบื้องหลังอะไรบ้างที่ผู้ฟังไม่เห็นครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

5. การจัดห้องเรียน

ครู อาจารย์ วิทยากรบางท่านอาจเคยพบเหตุการณ์ที่ต้องไปสอนหรือบรรยายในห้องเรียนหรือห้องประชุมใหญ่มาก แต่มีผู้เรียนไม่กี่คน

ถ้าปล่อยให้คนเรียนนั่งกระจัดกระจายตามใจชอบเหมือนรูปซ้าย อาจารย์จะเสียพลังและไม่สามารถโฟกัสคนฟังได้เลย

ผมเคยพบเหตุการณ์ที่มีผู้เรียน 30 คนในห้องประชุม 100 กว่าที่นั่งและย้ายห้องไม่ได้

ผมจึงขอให้คนเรียนมานั่งรวมกลุ่มกันเหมือนรูปขวา เพื่อที่จะได้โฟกัสกับคนเรียนได้มากขึ้นครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

6. ชีวิตอาจารย์ใหม่

ผมเพิ่งคุยกับลูกศิษย์คนหนึ่งที่เป็นแฟนกับลูกศิษย์อีกคนที่เพิ่งบรรจุเป็นอาจารย์ใหม่ในมหาลัยแห่งหนึ่ง (อ่านแล้วงงไหม)

รูปข้างล่างคือ บทสนทนาที่ลูกศิษย์ผมเล่าให้ฟังเกี่ยวกับชีวิตของแฟนที่เป็นอาจารย์ใหม่ครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

7. ชีวิตการเรียนของผม

ชีวิตการเรียนในสมัยมัธยมปลาย และปริญญาตรี 4 ปีในจุฬาฯ ของผม สรุปได้ด้วยรูปนี้เพียงรูปเดียวครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

8. ทำเลทองในห้องเรียน

นิสิตที่มาก่อน จะได้ทำเลทองก่อน

ส่วนคนที่มาสาย จะได้นั่งแถวหน้าใกล้ชิดอาจารย์

อย่าว่าแต่นิสิตเลย แม้แต่ผมที่เป็นคนบ้าเรียน บ้าสัมมนา ก็ไม่ขอนั่งแถวหน้าเหมือนกัน

ทำเลทองของผมคือ แถว 2 หรือ แถว 3 เท่านั้น

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

9. เรียนคณะอะไรดี

ช่วงนี้มีนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ มาเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมาที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และภาควิชาต่าง ๆ เพื่อฟังข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน การสอน

นักเรียนบางคนทราบแล้วว่า จะเรียนคณะอะไร

บางคนยังไม่แน่ใจ

นี่คือคำแนะนำที่ผมบอกนักเรียนตอนมาเยี่ยมชมภาควิชาฯ ครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

10. การไปห้าง

ไทม์ไลน์ของผมในการไปห้างใหม่แห่งหนึ่งที่เพิ่งเปิดแถวพระราม 3 ในตอนเที่ยงวันที่ 24 ตุลาคม 2565 ครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

11. ไม่ต้องเก่งที่สุด ก็โดดเด่นในการทำงานได้

Scott Adams ผู้เขียนการ์ตูน Dilbert บอกว่า ขอเพียงแค่มี 3–4 ทักษะที่เก่งกว่าคนส่วนใหญ่ แล้วนำทักษะเหล่านั้นมารวมกันให้เกิดคุณค่าที่ไม่เหมือนใคร เรียกว่า Skill Stacking

Scott Adams เล่าว่า เขาเป็นนักเขียนการ์ตูนที่พอใช้ได้ ไม่ได้วาดสวยมาก มีอารมณ์ขันพอสมควร แต่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ทำงานในบริษัทใหญ่ที่นักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่ไม่มี

การวาดการ์ตูน + อารมณ์ขัน + ประสบการณ์ธุรกิจ = การ์ตูน Dilbert ล้อเลียนชีวิตคนทำงานที่โด่งดัง

สมมติว่า เราเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาอยู่แล้ว และชอบเล่นบอร์ดเกม ใช้เทคโนโลยีคล่อง

ความรู้ + บอร์ดเกม + เทคโนโลยี ทำให้เราเป็นครูที่ไม่เหมือนใคร มีเทคนิคการสอนแปลกใหม่ที่แตกต่างคนอื่น

ถ้าเราเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ไม่ได้เก่งมาก แต่มีทักษะด้านการเขียน blog และการพรีเซนต์ สามารถสื่อสารเรื่องเทคนิคยาก ๆ ให้คนทั่วไปเข้าใจรู้เรื่องผ่านงานเขียนและพอดแคสต์ ก็โดดเด่นได้ไม่แพ้โปรแกรมเมอร์ขั้นเทพครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

12. วิธีตัดสินใจสำหรับคนลังเล

วิธีตัดสินใจเวลามีคนอื่นชวนเราทำอะไรบางอย่างแล้วเราลังเล ไม่กล้าปฏิเสธเพราะเกรงใจ แต่ก็ไม่อยากรับปากเช่นกัน

Derek Sivers นักเขียน ผู้ประกอบการและนักพูดชื่อดังใน TED เสนอเทคนิคตัดสินใจเรียกว่า Hell Yeah or No โดยให้ตั้งคะแนน 1–10 ซึ่ง 1 คือ ไม่อยากทำ , 10 คืออยากทำมากที่สุด

ถ้าคะแนนน้อยกว่า 8 คือ ปฏิเสธ อย่ารับปาก

ตอบรับก็ต่อเมื่อให้คะแนนตั้งแต่ 8 ขึ้นไป เพราะแสดงว่า เป็นสิ่งที่เราอยากทำมาก

ผมใช้เทคนิคนี้หลายครั้งในการปฏิเสธคนที่ไม่ค่อยสนิทอย่างง่ายดาย เพราะสมัยก่อนขี้เกรงใจมาก

ใครที่เป็นคนขี้เกรงใจ ลองนำไปใช้ครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

13. ข้อคิดสำหรับอาจารย์มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มสอน

ถ้าเวลาสอนมีน้อย และมีเนื้อหาที่อยากสอนเยอะครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

14. สิ่งที่นักเขียนต้องรู้

ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการเขียนหนังสือแนว non-fiction หรือแนว how-to หลายเล่ม

ทุกเล่มพูดเหมือนกันหมดคือ อุปสรรคใหญ่เรื่องหนึ่งของคนอยากเขียนหนังสือ non-fiction คือ คิดว่าตัวเองมีความรู้ไม่พอ ยังไม่เก่งที่สุดในเรื่องนั้น จึงไม่กล้าเขียน

แต่ที่จริงแล้ว นักเขียน how-to ไม่จำเป็นต้องรู้มากที่สุด ขอแค่รู้ว่า คนอ่านของเราคือใคร และรู้มากกว่าคนอ่านก็พอครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

15. ผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้กว้าง

บางคนต้องการเป็นผู้เชี่ยวชาญ โฟกัสเรื่องเดียว

บางคนต้องการเป็นผู้รู้กว้าง สนใจหลายเรื่อง

ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางไหน ก็ถูกทั้งนั้น เพราะจริตแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

16. รู้งี้

เตือนใจนิสิต นักศึกษาที่กำลังจะสอบไล่ในเดือนธันวาคม

อย่าเป็นอย่างในรูป เพราะผมเคยเป็นแล้ว !

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

17. แพลนนิ่ง

“คุณกำลังวางแผนเพื่อสร้างความก้าวหน้า หรือกำลังสร้างความก้าวหน้าจริง ๆ บางครั้ง การวางแผนเป็นวิธีหลบเลี่ยงการลงมือทำ”

จากทวิตของ Ali Abdaal @AliAbdaal ยูทูเบอร์ชื่อดังด้าน productivity

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

18. ใช้ชีวิตนอกอัลกอริทึม

ทำในสิ่งที่ต่างหรือตรงข้ามกับคำแนะนำของอัลกอริทึมบ้าง

เพื่อจะได้เห็นมุมมองใหม่ที่อัลกอริทึมคิดไม่ถึง

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

19. คำคมของไอน์สไตน์

“การเล่นคือรูปแบบขั้นสูงสุดของการวิจัย” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

20. การโพสต์ในโซเชียลมีเดีย

“เรากำลังสร้างศัตรูผ่านการโพสต์ในโซเชียลมีเดียของเราหรือเปล่า เคยถามตัวเองไหม” จากหนังสือ วิชาธุรกิจที่ชีวิตจริงเป็นคนสอน เล่ม 3

ภาพวาดจากผู้เขียนบทความ

เชิญสมัครเป็นสมาชิกจดหมายข่าว “ไฟฉาย” ของผมที่จะส่องไอเดียน่าสนใจทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของทุกเดือน เช่น แอป คอร์สออนไลน์ หนังสือ วิดีโอ บทความ เพจ ไฮไลท์จากหนังสือ เป็นต้น

สมัครเพื่ออ่านทางอีเมลได้อย่างสะดวกสบายได้ที่

thongchairoj.substack.com

--

--

ธงชัย โรจน์กังสดาล

ผู้สอนวิชาเลือกสุดฮิตของจุฬาฯ Innovative Thinking และ คอร์สออนไลน์ CHULA MOOC ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์