โยน Juggling เกี่ยวข้องกับวิชานวัตกรรมอย่างไร

ทำไมผมใช้ Juggling เป็นกิจกรรมสำคัญในวิชา Innovative Thinking

ภาพจากผู้เขียนบทความ

“อาจารย์ครับ ทำไมเอาการโยน juggling มาสอนในวิชา Innovative Thinking”

นี่เป็นคำถามจากผู้เรียนคอร์สการโยนบอลสลับมือ 3 ลูก (Juggling) ที่ผมสอนในวันที่ 24 มิถุนายน 2567

ผมสอนวิชา Innovative Thinking ซึ่งเน้นทักษะของการเป็นนวัตกร โดยใช้การโยน Juggling เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในวิชานี้ 18 ปีแล้ว

นี่คือเหตุผลที่การโยน Juggling เหมาะกับการฝึกเป็นนวัตกร

1. ฝึกล้มเหลว

กว่าจะโยนคล่อง ลูกบอลอาจหล่นพื้นหลายร้อยครั้ง เรียกว่า fail fast อย่างแท้จริง

นวัตกรก็เช่นเดียวกัน ต้องลองผิดลองถูก อาจล้มเหลวหลายครั้ง ก่อนสร้างผลงานสำเร็จ

การโยน Juggling ช่วยให้ผู้เรียนชินกับความล้มเหลว ถ้าลูกหล่น ก็หยิบมาโยนใหม่ ไม่ต้องดราม่า !

2. ฝึกสมอง

การโยน Juggling ต้องใช้มือทั้ง 2 ข้าง ซึ่งช่วยฝึกสมอง สมาธิอย่างดี

มีงานวิจัยว่า การโยน Juggling ช่วยสร้างเซลล์สมองใหม่ เป็นการฝึกสมองอย่างแท้จริง

ระหว่างโยน Juggling จะวอกแวกไม่ได้เลย ต้องมีสมาธิกับการโยน จึงช่วยฝึกสมาธิด้วย

3. ฝึกเรื่องการเรียนรู้

การโยน Juggling เป็นเรื่องใหม่ของคนส่วนใหญ่

ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ จะโยนเป็น ต้องเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ถูกต้อง จึงฝึกสำเร็จ เหมือนการฝึกทักษะหรือเรียนรู้เรื่องอื่น เช่น เอไอ, การเขียนโปรแกรม, ศิลปะ, ภาษา, ดนตรี

ยุคนี้พูดเรื่อง Life Long Learning เยอะมาก การมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเรียนรู้ จึงสำคัญกับคนทำงานยุคนี้

มีลูกบอล Juggling ขายในร้านค้าออนไลน์ และคลิปยูทูบสอนการโยน Juggling มากมาย ถ้าคุณสนใจ ลองหาเวลาฝึกฝนครับ

เชิญสมัครเป็นสมาชิกจดหมายข่าว ไฟฉาย ของผมที่จะส่องไอเดียน่าสนใจทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของทุกเดือน เช่น แอป คอร์สออนไลน์ หนังสือ วิดีโอ บทความ เพจ ไฮไลท์จากหนังสือ เป็นต้น

สมัครเพื่ออ่านทางอีเมลได้อย่างสะดวกสบายได้ที

thongchairoj.substack.com

--

--

ธงชัย โรจน์กังสดาล

ผู้สอนวิชาเลือกสุดฮิตของจุฬาฯ Innovative Thinking และ คอร์สออนไลน์ CHULA MOOC ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์