3 อย่างที่ผมเรียนรู้จากการเขียนบทความออนไลน์ 30 วันติดต่อกัน

ประสบการณ์ในการเขียนบทความ 30 วันต่อเนื่อง

ภาพถ่ายโดย Jill Wellington จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/459051/

30 วันที่แล้ว ผมสมัครเรียนคอร์สการเขียนออนไลน์ชื่อ Ship 30 for 30 ของ Dickie Bush & Nicolas Cole

ผมเขียนและตีพิมพ์บทความสั้นๆ เรียกว่า Atomic Essays ทั้งหมด 30 บทความในเวลา 30 วัน, เรียนรู้พื้นฐานของการเขียนในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายมาก

นี่คือบทเรียนใหญ่ 3 ข้อที่ผมได้จากการเขียนและเผยแพร่บทความ 30 วันต่อเนื่อง

1. ให้เวลากับการเรียนและการเขียน

ผมใช้เวลาในการดูวิดีโอบทเรียน, การเขียนบทความ และเผยแพร่ช่องทางต่างๆ อย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง

การดูวิดีโอบทเรียนอย่างเดียวโดยไม่เขียนจะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง เมื่อดูจบแล้ว ก็ต้องลงมือเขียนจริงด้วย ซึ่งไม่ใช่ว่าจะเขียนได้ทันที ต้องหาหัวข้อ เขียนและขัดเกลา จนกว่าจะเผยแพร่ได้

2. ไอเดียการเขียนมีอยู่ทุกแห่ง

บางทีผมคิดหัวข้อการเขียนออกในตอนเช้าหลังจากเพิ่งตื่นนอน บางทีก็ใช้ template ของคอร์ส

หลังจากเขียนครบ 30 วัน ผมรู้ซึ้งแล้วว่า หัวข้อการเขียนอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ขอให้เชื่อมั่นในตัวเอง

3. ความสม่ำเสมอคือพลัง

การเขียนบทความทุกวัน ทำให้ผมมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเยอะมากในช่องทางที่ผมเผยแพร่ได้แก่ เพจ Innovative Thinking Playground, Medium, Blockdit และจดหมายข่าวไฟฉาย

เราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าหรอกว่า บทความไหนจะปัง จะแป้ก เพราะอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา สิ่งที่เราทำได้อย่างเดียวคือ เผยแพร่ และเขียนบทความใหม่ต่อไป (publish, write, repeat)

เชิญสมัครเป็นสมาชิกจดหมายข่าว ไฟฉาย ของผมที่จะส่องไอเดียน่าสนใจทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของทุกเดือน เช่น แอป คอร์สออนไลน์ หนังสือ วิดีโอ บทความ เพจ ไฮไลท์จากหนังสือ เป็นต้น

สมัครเพื่ออ่านทางอีเมลได้อย่างสะดวกสบายได้ที

thongchairoj.substack.com

--

--

ธงชัย โรจน์กังสดาล

ผู้สอนวิชาเลือกสุดฮิตของจุฬาฯ Innovative Thinking และ คอร์สออนไลน์ CHULA MOOC ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์