สรุปเนื้อหาจาก 4 วิทยากรในงานตลาดนัดความรู้ครั้งที่ 15

ผมไปฟังสัมมนาในงานตลาดนัดความรู้ครั้งที่ 15 ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทรในวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566 ซึ่งผู้ริเริ่มคือ อาจารย์ไชยยศ ปั้นสกุลไชย และผู้จัดงานครั้งนี้คือ อาจารย์พากร อัตตนนท์

งานนี้มีวิทยากร 4 คนมาบรรยายคนละ 1 ชั่วโมง 15 นาที และมีครูลุงตุ้ม วิทยากรชื่อดังที่สอนการวาดรูป มาวาดรูปสด ๆ หรือ graphic recording สรุปการบรรยายของวิทยากรทุกคนให้ด้วย

ครูลุงตุ้มกำลังอธิบายเบื้องหลังภาพวาด

บทความนี้สรุปเนื้อหาบรรยายของวิทยากรทั้ง 4 คนครับ

1. Mandala วงกลมอันศักดิ์สิทธิ์

ครูนุช นงนุช ทรงอยู่ เป็นวิทยากรคนแรกและคนเดียวของประเทศไทยที่ได้รับ certified MARI ( Mandala Assessment Research Instrument) ซึ่งเป็นศิลปะบำบัดประเภทหนึ่ง มาเล่าเรื่อง Mandala ให้พวกเราฟัง

Mandala แปลไทยคือ มณฑลหรือวงกลมอันศักดิ์สิทธิ์

ตอนแรกผมเข้าใจว่า Mandala หมายถึงวงกลมที่สมมาตรโดยสมบูรณ์ แต่ครูนุชอธิบายว่า Mandala ไม่ต้องเป็นวงกลมที่สมมาตรก็ได้ อาจเป็นวงกลมรูปอะไรก็ได้

ครูนุชให้พวกเราทำกิจกรรม Mandala คนละ 10 นาทีโดยให้วาดรูปอะไรก็ได้บนกระดาษวงกลมที่เตรียมให้

จากนั้นครูนุชบอกพวกเราให้สังเกตว่า รูปที่พวกเราวาดเหมือนรูปจาก MARI อะไรบ้างที่ครูนุชโชว์ให้ดู ซึ่งแบ่งออกเป็น stage ต่าง ๆ

รูปที่ผมวาดเหมือน stage 8 และครูนุชขอให้ผู้เรียนช่วยกันแชร์ว่าตัวเองกำลังอยู่ใน stage อะไรบ้าง

สิ่งสำคัญคือ ยอมรับว่า ตัวเองกำลังอยู่ใน stage ไหน ไม่ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น

ถ่ายคู่กับครูนุช
ภาพวาดสรุปเนื้อหาเรื่อง Mandala

2. เขียนเป็นเห็นเงินล้าน

วิทยากรหัวข้อนี้ชื่อ อาจารย์เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป ซึ่งเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์ต้นคิด

อาจารย์เปี่ยมศักดิ์เล่าประสบการณ์ของตัวเองว่า กว่าจะมาเป็นนักเขียน และเป็นบรรณาธิการนั้นต้องฝันฝ่าอุปสรรคอย่างไรบ้าง โดยที่อาจารย์เปี่ยมศักดิ์เขียนหนังสือเกี่ยวกับสามก๊กประมาณ 50 เล่มแล้ว

อาจารย์เปี่ยมศักดิ์บอกว่า ทุกอาชีพเขียนได้ เช่น เขียนในโซเชียลมีเดีย แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอาชีพจะเป็นนักเขียนหนังสือได้ เพราะบางอาชีพเขียนออกมาเป็นหนังสือค่อนข้างยาก

จากนั้นอาจารย์เปี่ยมศักดิ์แสดงสถิติหนังสือขายดีจากร้านหนังสือดังแห่งหนึ่ง ซึ่งหมวดหนังสือขายดีได้แก่ หมวดจิตวิทยา, บริหารธุรกิจ และการเงิน

เมื่อดู 20 อันดับของหนังสือขายดีจะพบว่า หนังสือขายดีเป็นหนังสือแปลมากกว่าหนังสือที่คนไทยเขียน

หนังสือหมวดเดียวที่อาจารย์เปี่ยมศักดิ์แนะนำให้คนไทยเขียนคือ หมวดบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นเป็นหนังสือที่คนไทยเขียน แล้วคนไทยอ่าน

ในขณะที่หนังสือขายดีหมวดจิตวิทยามักเป็นหนังสือแปล ยกเว้นว่า ผู้เขียนมีแฟนคลับติดตามมากมายเท่าครูเงาะหรือน้าเน็ก

ก่อนเขียนหนังสือ สารบัญต้องนิ่งหรือชัดเจนก่อน จึงจะเขียนได้

ส่วนชื่อเรื่องหนังสือ ค่อยมาคิดทีหลังสุดก็ได้ เพราะเมื่อส่งต้นฉบับแล้ว สำนักพิมพ์อาจขอให้เปลี่ยนชื่อเรื่องได้ ซึ่งอาจารย์เปี่ยมศักดิ์ได้ยกตัวอย่างวิธีตั้งชื่อหนังสือให้ดึงดูดด้วยวิธีต่าง ๆ

บรรณาธิการยุคใหม่อยากทราบว่า นักเขียนที่มาเสนอหนังสือนั้น มีแฟนคลับมากน้อยแค่ไหน

อาจารย์เปี่ยมศักดิ์สรุปว่า วันนี้ แฟนคลับคือสินทรัพย์

ถ่ายคู่กับอาจารย์เปี่ยมศักดิ์
ภาพวาดสรุปเนื้อหาเรื่องเขียนเป็นเห็นเงินล้าน

3. AGILE สไตล์ยูววววววววว

วิทยากรหัวข้อนี้ชื่ออาจารย์โจ๊ก จันทร์จิรา เพชรบุรี

อาจารย์โจ๊กสมมติสถานการณ์ว่า มีคนกำลังโดนผีหลอก แล้วโทรศัพท์ขอให้ผู้เรียนช่วยเหลือ จากนั้นแบ่งผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม

แต่ละกลุ่มได้รับคำสั่งให้ทำสิ่งต่างๆ เช่น ตัดเสื้อเพื่อไม่ให้ธี่หยด เอ้ยไม่ใช่ ผีเห็น, ทำยันต์ป้องกันผี เป็นต้น

หัวข้อนี้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานมาก เพราะต้องรีบทำสิ่งต่างๆ มีวัสดุประกอบกิจกรรมมากมาย

ข้อคิดที่ได้จากกิจกรรมนี้คือ ทุกอย่างต้องชัดเจน ถ้าไม่เข้าใจอะไรก็ตาม ก็ควรถาม มิฉะนั้น จะทำงานไม่ตรงสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เสียเงิน เสียเวลาเปล่า

ความชัดเจนในภาษาอังกฤษเรียกว่า CLEAR ซึ่งเป็นคำย่อของคำต่อไปนี้ในรูปข้างล่าง

ภาพวาดสรุปเนื้อหาเรื่อง AGLILE
ถ่ายคู่กับอาจารย์โจ๊ก

4. อย่ายื่นดรัมเบลล์ให้คนจมน้ำ

วิทยากรคืออาจารย์บุ้ง ดีดติ่งหู ซึ่งเป็นนักเขียนและวิทยากรที่โด่งดังมากเกี่ยวกับการขาย

ผลงานหนังสือของอาจารย์บุ้ง

อาจารย์บุ้งเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษา และแนะนำเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการทำงานของที่ปรึกษา

จากนั้นอาจารย์บุ้งให้ทำแบบสอบถาม 10 ข้อว่า มีความสามารถในการเป็นที่ปรึกษามากน้อยแค่ไหน

จากนั้นอาจารย์บุ้งเฉลยว่า แบบสอบถามทั้ง 10 ข้อ สร้างจาก ChatGPT โดยรวบรวมจากหนังสือเกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษาหลายเล่ม แล้วให้ ChatGPT สร้างคำถามและเฉลย โดยที่อาจารย์บุ้งก็มาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

หนังสือที่อาจารย์บุ้งให้ ChatGPT อ้างอิงเพื่อสร้างแบบสอบถาม

อาจารย์บุ้งสรุปว่า เอไอเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในยุคนี้

สรุปเนื้อหาบรรยายของอาจารย์บุ้ง
ถ่ายคู่กับอาจารย์บุ้ง

ความประทับใจ

งานตลาดนัดความรู้เป็นงานที่คุ้มค่ามาก เพราะราคาบัตรไม่ถึง 2 พันบาท ได้ทานอาหารว่าง อาหารเที่ยงในโรงแรมอย่างเดียวก็คุ้มแล้ว

ส่วนความรู้ที่ได้จากวิทยากรแทบจะเรียกได้ว่า ฟรี เพราะถ้ารวมค่าตัววิทยากรทุกคน ก็เป็นหลักแสน

แต่เราได้ฟังความรู้ของวิทยากรทั้งสี่คนอย่างเต็มที่ แล้วยังได้ทำบุญอีกด้วย เพราะรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย มอบให้โครงการ “ป่วยให้ยืม”

ผมเล่าประสบการณ์ของตัวเองในการพูดที่งานตลาดนัดความรู้ครั้งที่ 14

เชิญอ่านได้ที่ เรื่องเล่าจากงานตลาดนัดความรู้ครั้งที่ 14

เชิญสมัครเป็นสมาชิกจดหมายข่าว “ไฟฉาย” ของผมที่จะส่องไอเดียน่าสนใจทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของทุกเดือน เช่น เอไอ คอร์สออนไลน์ หนังสือ วิดีโอ บทความ เพจ การอบรมที่น่าสนใจ เป็นต้น

สมัครเพื่ออ่านทางอีเมลได้อย่างสะดวกสบายได้ที่

thongchairoj.substack.com

--

--

ธงชัย โรจน์กังสดาล
ธงชัย โรจน์กังสดาล

Written by ธงชัย โรจน์กังสดาล

ผู้สอนวิชาเลือกสุดฮิตของจุฬาฯ Innovative Thinking และ คอร์สออนไลน์ CHULA MOOC ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์

Responses (2)