ภาพวาดไอเดีย 19 รูปของผมระหว่างเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2023

ภาพวาดง่าย ๆ ที่อธิบายแนวคิดน่าสนใจจากหนังสือหรือนักเขียนดัง

ภาพถ่ายโดย Pixabay จาก Pexels: https://www.pexels.com/th-th/photo/hdr-258045/

1. สามเรื่องสำคัญของชีวิต

“3 เรื่องสำคัญในชีวิตคือ ความมั่งคั่ง, สุขภาพ และความสุข เราแสวงหาสิ่งเหล่านี้ตามลำดับ แต่ความสำคัญจะสลับกัน”

จากหนังสือ THE ALMANACK OF NAVAL RAVIKANT

ภาพจากผู้เขียนบทความ

2. เวลาในการอ่านหนังสือ

“อ่านหนังสือที่ไม่ใช่นิยายในตอนเช้า เพื่อให้ตื่น

อ่านนิยายในตอนเย็น เพื่อให้ผ่อนคลาย” จาก @AlexAndBooks

ภาพจากผู้เขียนบทความ

3. ความรู้สึกเวลาเรียนและเวลาทำงาน

บ่ายวันที่ 4 มกราคม ผมได้ยินนิสิตคุยกันในลิฟต์ว่า

“ทำไมปิดเทอมสั้นจัง แต่เวลาเรียนช่างนานเหลือเกิน” แล้วเพื่อนคนอื่นก็หัวเราะ

ผมจึงนึกถึงตัวเองว่า เคยคิดแบบนี้สมัยเป็นนิสิตเหมือนกัน แต่ตอนนี้ …

ภาพจากผู้เขียนบทความ

4. มองรอบข้าง

อย่าจดจ่อกับสิ่งที่ต้องการเพียงอย่างเดียว ลองเปิดใจมองรอบ ๆ บ้าง อาจเจอสิ่งที่ดีกว่าแบบคาดไม่ถึง

ภาพจากผู้เขียนบทความ

5. say NO say YES

say NO เรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ

เพื่อจะได้มีเวลา say YES ให้เรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง

ภาพจากผู้เขียนบทความ

6. การเตรียมสอนของอาจารย์

ขอเปิดเผยเทคนิคการสอนแบบ Just-in-time ที่นิสิตอาจไม่เคยทราบมาก่อนครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

7. ช่องว่างระหว่างไอเดียและการปฏิบัติ

“ทักษะสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ควรสร้างคือ การลดเวลาระหว่างไอเดียและการลงมือทำ”

จาก ทวิตของ Dan Koe @thedankoe

ภาพจากผู้เขียนบทความ

8. ข้ามบึง อย่าสู้จระเข้

“อย่าเสียเวลาสู้จระเข้ เอาเวลาไปข้ามบึงดีกว่า” จากหนังสือ The Art of Possibility

บึงคือ เป้าหมายสำคัญที่เราควรทำ แต่เรามักผัดวันประกันพรุ่ง

จระเข้ คือ สิ่งที่ทำให้เราวอกแวก เช่น notification, อีเมลที่ไม่เร่งด่วน, การประชุมที่เยิ่นเย้อไม่เกิดผลลัพธ์ เป็นต้น

หาให้พบว่า บึงและจระเข้ของคุณคืออะไร

ภาพจากผู้เขียนบทความ

9. วิธีอ่านหนังสือให้จำได้

นักเขียนหนังสือขายดีหลายคน เช่น Tim Ferris, Ryan Holiday, Tiago Forte, Ozan Varol พูดในคลิปยูทูบเหมือนกันหมดว่า อ่านหนังสือฮาวทู หรือ non-fiction แล้วจำไม่ได้ว่าอ่านอะไร เพราะอ่านอย่างเดียว

พวกเขาจึงแนะนำคล้าย ๆ กันว่า แทนที่จะอ่านเฉย ๆ ลองใช้วิธีต่อไปนี้ เช่น

- เขียนสรุปเป็นบทความ ภาพวาด สไลด์

- สอนหรือเล่าให้คนอื่นฟัง

- นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีเหล่านี้จะช่วยให้จำและเข้าใจเนื้อหาหนังสือได้ดีขึ้นครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

10. อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

การคิดที่บั่นทอนกำลังใจตัวเองมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ

การเปรียบเทียบผลงานของตัวเองที่เพิ่งทำ กับผลงานของคนอื่นที่มีประสบการณ์ยาวนาน เช่น

อาจารย์ที่เพิ่งสอน เปรียบเทียบตัวเองกับอาจารย์ที่ได้รางวัลด้านการสอน

นักเขียนที่เพิ่งเริ่มเขียนหนังสือ เปรียบเทียบตัวเองกับนักเขียนเบสต์เซลเลอร์

นักศึกษาที่เพิ่งหัดเขียนแอป เปรียบเทียบตัวเองกับโปรแกรมเมอร์ขั้นเทพ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

11. เริ่มโดยที่ยังไม่พร้อม

ทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของนวัตกรหรือนักสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่น คือ การเริ่มทำทันที ถึงแม้ว่ายังไม่พร้อม

กว่าจะรอให้พร้อมเต็มที่ อาจไม่มีวันเริ่มต้นเลย เพราะรู้สึกว่ายังไม่พร้อมสักที

ภาพจากผู้เขียนบทความ

12. ให้ตัวอักษรหายใจบ้าง

ปัญหาที่ผมพบบ่อยมากที่สุดในบทความ Medium ของนิสิต คือ

การเขียนตัวอักษรติดกันยาวเหยียดเหมือนขบวนรถไฟ ไม่ขึ้นบรรทัดใหม่เลย ทำให้อ่านยากมาก จนแทบไม่อยากอ่านเลย

วิธีง่ายที่สุดอย่างหนึ่งในการปรับปรุงบทความออนไลน์ให้น่าอ่านมากขึ้น ซึ่งคอร์สออนไลน์ด้านการเขียนใน Udemy หรือหนังสือด้านการเขียนของฝรั่งแนะนำเสมอคือ

การขึ้นบรรทัดใหม่บ่อย ๆ มีที่ว่างให้ตัวอักษรได้หยุดพักหายใจบ้าง

วิธีนี้ทำให้คนอ่านได้พักสายตา และสแกนอ่านบทความได้อย่างรวดเร็วครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

13. คุณเป็นนักอ่านแบบไหน

เคยมีนิสิต Innovative Thinking ถามผมว่า

“หนูอยากเป็นนักอ่านหนังสือเหมือนอาจารย์บ้าง แต่หนูไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ เริ่มต้นอย่างไรดีคะอาจารย์”

ผมจะตอบเสมอว่า คนที่เพิ่งเริ่มอ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียน อย่าเลือกสีแดง

ขอให้เลือกสีเขียว เพราะความสม่ำเสมอคือพลังครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

14. ราคาของการไม่ยอมพัฒนาตัวเอง

“หนังสือดี ๆ ราคาแพง

งานสัมมนาดี ๆ ราคาแพงกว่า

แต่การไม่ยอมพัฒนาตัวเอง เช่น หาความรู้ ออกกำลังกาย หรือทำจิตใจให้สงบ ราคาแพงที่สุด” ข้อความจากทวิตเตอร์หลายปีก่อน

ภาพจากผู้เขียนบทความ

15. ตัดส่วนนำที่เยิ่นเย้อ

คอร์สออนไลน์ด้านการเขียนบทความหลายคอร์สสอนว่า

ปัญหาที่พบบ่อยเรื่องหนึ่งของบทความออนไลน์คือ การมีคำนำที่ยืดยาด อารัมภบทมากเกินไป กว่าจะเข้าเนื้อหา

วิธีที่ทำให้บทความสั้นกระชับ น่าอ่านมากขึ้นคือ ตัดส่วนนำที่เยิ่นเย้อทิ้ง และเข้าเนื้อหาทันทีครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

16. พลังสมอง

คนสมัยก่อนไม่มีเอไอ ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต แต่ก็สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างมากมาย

ขอให้เชื่อมั่นในพลังสมองของคุณครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

17. ไอเดียเกิดที่ไหน

หาเวลาอยู่เฉย ๆ กับตัวเองโดยไม่ต้องทำอะไร

ไม่ต้องเข้าโซเชียลมีเดีย ไม่ต้องดูสตรีมมิ่ง ไม่ต้องอ่านหนังสือ

เพื่อให้ไอเดียหรือปัญญาของเราได้มีโอกาสทำงานบ้างครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

18. โฟกัสเรื่องที่ควบคุมได้

วิชา Innovative Thinking มีโครงงานกลุ่มให้นิสิตสร้างต้นแบบแอปเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ

ผมบอกนิสิตเสมอว่า มีเรื่องมากมายในโลกนี้ที่เราควบคุมไม่ได้โดยตรง เช่น กฎระเบียบต่าง ๆ ที่คนอื่นออกมาควบคุม , ปัญหาเศรษฐกิจระดับโลก เป็นต้น

แต่มีหลายเรื่องที่นิสิตควบคุมหรือจัดการได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น

ดังนั้น ขอให้โฟกัสเรื่องที่เราควบคุมได้ ซึ่งมีปัญหาจำนวนมากรอให้เราแก้ไขอยู่แล้วครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

19. ความรัก

วันวาเลนไทน์ 14 ก.พ.

ขอให้ทุกท่านสมหวังหรือชื่นมื่นในความรักครับ

ภาพจากผู้เขียนบทความ

เชิญสมัครเป็นสมาชิกจดหมายข่าว “ไฟฉาย” ของผมที่จะส่องไอเดียน่าสนใจทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของทุกเดือน เช่น แอป คอร์สออนไลน์ หนังสือ วิดีโอ บทความ เพจ ไฮไลท์จากหนังสือ เป็นต้น

สมัครเพื่ออ่านทางอีเมลได้อย่างสะดวกสบายได้ที่

thongchairoj.substack.com

--

--

ธงชัย โรจน์กังสดาล

ผู้สอนวิชาเลือกสุดฮิตของจุฬาฯ Innovative Thinking และ คอร์สออนไลน์ CHULA MOOC ปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์